บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2011

ลักษณะของภาษาเฟซบุ๊ค

๑.สะกดผิดได้ง่าย เป็นรูปแบบของคำที่มีการสะกดผิด ซึ่งเกิดจากคำที่มีการผันอักษรและเสียงไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์ * สนุ๊กเกอร์ (สนุกเกอร์) * โน๊ต (โน้ต) ๒.คำที่สะกดผิดเพื่อให้แปลกตา * นู๋ (หนู) * ชะมะ,ชิมิ (ใช่ไหม) * ว้าววว (ว้าว) * ป่าว (เปล่า) * เทอ (เธอ) * ชั้ล , ช้าน (ฉัน) * ค้ะ , คร๊ , คร้ะ , ค่า (ค่ะ) * คร้าบ , คับ , คัฟ , คร๊าฟ (ครับ) ๓.การลดรูปคำ เป็นรูปแบบของคำที่ลดรูปให้สั้นลง มีใช้ในภาษาพูด * มหาลัย หรือ มหา'ลัย (มหาวิทยาลัย) * วิดวะ (วิศวกรรม) ๔.คำที่สะกดผิดเพื่อให้ตรงกับเสียงอ่าน * ใช่ไหม → ใช่มั้ย ๔.คำที่สะกดผิดเพื่อแสดงอารมณ์ * ไม่ → ม่าย * ใช่ → ช่าย * ใคร → คัย * อะไร → อาราย * เป็นอะไร → เปงราย * ทำไม → ทามมาย ๕.คำที่สะกดผิดเพื่อลดความหยาบของคำ หรืออาจใช้หลีกเลี่ยงการกรองคำหยาบของซอฟต์แวร์ * กู → กรู * มึง → มรึง เมิง * ไอ้สัตว์ → ไอ้สาด * โคตร → โคโตะ * พ่อมึงตาย → พ่องจาย * เหี้ย → เห้ ๖.คำเลียนเสียงเพื่อเพิ่มอรรธรถในการคุย โดยส่วนใหญ่จะเพิ่ม ร., ส., (อาจมี ์ ติดมาด้วย) หรือ พิมพ์ตัวอักษรใดๆ ในคำนั้นเป็นจำนวนมากเพื่อเน้นคำนั้นให้เด่นอีกด้วย * ว้าย → แอร๊ยย,

ตัวอย่างคำที่มักเขียนผิด

คำภาษาไทยที่ถูกต้อง ภาษาที่ใช้ในเฟซบุ๊ค ค่ะ ค๊ะ,ค๊า ,ค่า ครับ ค๊าบ, คลับ, คร๊าบ,คับ หนู นู๋ ใช่ไหม ชิมิ , ชะมะ เปล่า ป่าว ฉัน ชั้น ,ช้าน เธอ เทอ ไม่ ม่าย ทำไม ทามมาย,ทำมัย เป็น เปน ,เปง อะไร อะไร,อะราย,อะรัย กู กรู โคตร โคตะระ จ้ะ จ๊ะ จ้า จ๊า,จร้า สวัสดี หวัดดี ชื่อ เช่อ เหมือน เหมิน เหรอ หรอ ไง งัย พรุ่งนี้ พุ่งนี้ ไหม มั้ย,ใม่ ใคร ใค,คัย กัน กาน,กัล เพื่อน เพิ่ล ประกาศ ประกาด โอกาส โอกาด ทุกคน ทุกคล รู้ รุ๊ส์ ทำ ทัม ล่ะ ล๊ะ ก็ ก้อ,ก๊ ได้ ใด้,ดั้ย

ลักษณะของภาษาไทยวิบัติ

อาจแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้ ดังนี้ ๑. คำที่สะกดผิดได้ง่าย เป็นรูปแบบของคำที่มีการสะกดผิด ซึ่งเกิดจากคำที่มีการผันอักษรและเสียงไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์ เช่น * สนุ้กเกอร์ → สนุ๊กเกอร์ * โน้ต → โน๊ต ๒. คำที่สะกดผิดเพื่อให้แปลกตา หรือ ง่ายต่อการพิมพ์ (ทำให้พิมพ์ได้เร็วขึ้น) เช่น * หนู→ นู๋ * ผม → ป๋ม * ใช่ไหม → ชิมิ * เป็น → เปง * ก็ → ก้อ * ค่ะ,ครับ → คร่ะ,คับ * เสร็จ → เสด * จริง → จิง * เปล่า → ปล่าว,ป่าว,เป่า ๓. การลดรูปคำ เป็นรูปแบบของคำที่ลดรูปให้สั้นลงมีใช้ในภาษาพูด เช่น * มหาวิทยาลัย → มหา’ลัย ,มหาลัย * โรงพยาบาล → โรงบาล ๔. คำที่สะกดผิดเพื่อให้ตรงกับเสียงอ่าน เช่น * ใช่ไหม → ใช่มั้ย ๕. คำที่สะกดผิดเพื่อแสดงอารมณ์ เช่น * ไม่ → ม่าย * ไปไหน → ปายหนาย * นะ → น้า * ค่ะ,ครับ →คร่า,คร๊าบ * จ้ะ → จร้า นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ใช้ในการพูด และกลุ่มที่ใช้ในการเขียน ๑. กลุ่มที่ใช้เวลาพูด เป็นประเภทของภาษาวิบัติที่ใช้ในเวลาพูดกัน ซึ่งบางครั้งก็ปรากฏขึ้นในการเขียนด้วย แต่น้อยกว่าประเภทกลุ่มที่ใช้ในเวลาเขียน โดยมักพูดให้มีเสียงสั้นลง

ความหมายของภาษาวิบัติ

ภาษาวิบัติ หรือ ภาษาอุบัติ เป็นคำเรียกของการใช้ภาษาไทยที่มีการดัดแปลง และไม่ตรงกับภาษามาตรฐานตามหลักภาษาไทยในด้านการสะกดคำ คำว่าภาษาวิบัติใช้เรียกรวมถึงการเขียนที่สะกดผิดบ่อย และการใช้คำศัพท์ใหม่ที่ไม่ได้อยู่ในพจนานุกรมหรือคำศัพท์ที่สะกดแปลกไปจาก คำเดิม ในปัจจุบันเด็กไทยให้ความสำคัญกับการเรียนวิชาภาษาไทยน้อยลง แต่จะไปให้ความสำคัญในวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เห็นได้จากคะแนนวิชาภาษาไทยในการสอบคัดเลือกเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาซึ่ง มีค่าเฉลี่ยที่น้อยกว่าวิชาอื่นๆจนน่าใจหาย จากข้อมูลเหล่านี้สามารถวิเคราะห์ได้ว่า เด็กไทย ไม่สามารถใช้ภาษาไทยได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ขณะเดียวกันได้มีการใช้คำว่าภาษาอุบัติแทนที่คำว่าภาษาวิบัติที่มีความหมาย ในเชิงลบ โดยภาษาอุบัติหมายถึงภาษาที่เกิดขึ้นมาใหม่ ตอบสนองวัฒนธรรมย่อย เช่นเดียวกับภาษาเฉพาะอาชีพที่เป็นศัพท์สแลง คำว่า "วิบัติ" มาจากภาษาบาลี มีความหมายถึง พินาศฉิบหาย หรือความเคลื่อนทำให้เสียหาย ขณะที่คำว่า "อุบัติ" เป็นภาษาบาลีเช่นกันมีความหมายว่า "เกิดขึ้น"

ผลกระทบของภาษาเฟซบุ๊คที่ทำให้ภาษาไทยวิบัติ

ปัจจุบัน ปัญหาเรื่องภาษาวิบัติเป็นเรื่องที่เราพบเห็นกันได้บ่อยครั้งในสื่อออนไลน์ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยบนอินเตอร์เน็ตผ่านทางโปแกรมสนทนาอาทิ IRC, MSN หรือผ่านทางกระดานข่าวต่างๆ ที่เราจะได้เห็นการแผลงคำบางคำ ให้เพี้ยนไปจากรูปเดิมที่ควรจะเป็น อาทิเช่น ใช้คำว่า “เทอ” แทนคำว่า “เธอ” หรือ “คับ” แทนคำว่า “ครับ” ซึ่งกำลังระบาดไปทั่วในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งนั้น มาจากการต้องการความสะดวกสบายในการพิมพ์คำบางคำที่ต้องกดปุ่ม Shift เข้าช่วย เช่นคำว่า “ก็” หรือใช้คำวิบัติ เพราะคิดว่าทำให้ตนเองดูดี ดูน่ารักขึ้น เช่นคำว่า “ตะเอง” “ชิมิ” เป็นต้น จากกรณีดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดการรณรงค์ เพื่อที่จะให้เลิกใช้ภาษาในลักษณะดังกล่าว และหันกลับไปใช้รูปแบบที่ถูกต้อง โดยให้เหตุผลว่าเป็นความวิบัติทางภาษา ในขณะเดียวกัน ก็เกิดข้ออ้างที่ว่าเป็นเรื่องของการวิวัฒนาการของภาษาตามมา ซึ่งจากตรงจุดนี้ ทำให้เกิดคำถามตามมาคือ ภาษาวิบัติเป็นการสร้าง สรรค์ หรือบ่อนทำลาย ในความจริงที่ว่าภาษาจำเป็นต้องมีพัฒนาการเพื่อความอยู่รอดหาไม่แล้วก็จะ เป็นภาษาที่ตายแล้ว แน่นอน ประเด็นนี้เป็นความจริงที่เราคงเลี่ยงไม่ได้ แต

ที่มาของเฟซบุ๊ค

รูปภาพ
หลายๆคนในคณะใช้ Facebook กัน ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อระหว่างเพื่อนฝูง เล่นเกมส์ หรืออะไรอีกหลายอย่าง แต่มี ใครรู้บ้างว่า Facebook เกิดมาได้ยังไง เรื่องราวของ Facebook เริ่มจากนักศึกษา เบียร์ สัตว์ต่างๆ การ Hack และการโดนจับ ซึ่งดูจากการเริ่มต้นของ Facebook แล้วก็ Amazing มากๆว่า มาไกลถึงขนาดนี้ (ผู้ใช้งาน 400 ล้านคน) ในเวลาแค่ 6 ปี ความคิดที่แตกต่างไม่เหมือนกันอาจเป็นชนวนให้เกิดความแตกแยกในสังคมหลายๆ ประเทศ แต่ถ้าลองคิดต่างอย่างสร้างสรรค์ล่ะก็ นอกจากจะไม่ทะเลาะเบาะแว้งกันแล้ว เผลอๆอาจทำเงินทำทองให้ อย่างมหาศาล เปลี่ยนสถานะจากคนตกงานไร้อนาคตขึ้นแท่นเป็นสุดยอดมหาเศรษฐีอันดับท็อปๆของ โลกเพียงชั่วข้ามคืน จะว่ากันไปแล้ว คนกล้าคิดต่างอย่างสร้างสรรค์ก็มีอยู่ไม่น้อยในสังคมโลก แต่รายที่คิดต่างมีไอเดียน่าทึ่ง ทั้งๆที่อายุยังน้อย คงไม่มีใครโด่งดังเกินหน้า มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก แฮ็กเกอร์หนุ่มจากฮาร์วาร์ด ผู้ก่อตั้ง Facebook เครือข่ายสังคมออนไลน์ขนาดใหญ่สุดของโลก จนโด่งดังเปรี้ยงปร้างไปทั่ว และได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารไทม์ให้เป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดของโลก ประจำปี 2008 ขณะอายุเพี

ที่มาของภาษาไทย

ภาษาไทยเป็นภาษาที่เก่าเเก่ที่สุดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีราก ฐานมาจากออสโตรไทย ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับภาษาจีน มีหลายคำที่ขอยืมมาจากภาษาจีน พ่อขุนรามคำเเหงได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อปี พศ 1826 (คศ1283) มี พยัญชนะ 44 ตัว (21 เสียง), สระ 21 รูป (32 เสียง), วรรณยุกต์ 5 เสียง คือ เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ภาษาไทยดัดเเปลงมาจากบาลี เเละ สันสกฤต คนไทยเป็นผู้ที่โชคดีที่มีภาษาของตนเอง เเละมีอักษรไทย เป็นตัวอักษร ประจำชาติ อันเป็นมรดกล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ ซึ่งเป็นเครื่องเเสดงว่าไทยเราเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมสูงส่งมาเเต่โบราณกาล เเละยั่งยืนมาจนปัจจุบัน คนไทยผู้เป็นเจ้าของภาษา ควรภาคภูมิใจที่ชาติไทยใช้ภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติมากว่า 700 ปีเเล้ว เเละจะยั่งยืนตลอดไป ถ้าทุกคนตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย ภาษาเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติ ภาษาเป็นสื่อใช้ติดต่อกันเเละทำให้วัฒนธรรมอื่นๆเจริญขึ้น เเต่ละภาษามีระเบียบของตนเเล้วเเต่จะตกลงกันในหมู่ชนชาตินั้น ภาษาจึงเป็นศูนย์กลางยืดคนทั้งชาติ ดังข้อความ ตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์ในพระบาท สมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง "ควา