ลักษณะของภาษาเฟซบุ๊ค

๑.สะกดผิดได้ง่าย

เป็นรูปแบบของคำที่มีการสะกดผิด ซึ่งเกิดจากคำที่มีการผันอักษรและเสียงไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์

* สนุ๊กเกอร์ (สนุกเกอร์)

* โน๊ต (โน้ต)

๒.คำที่สะกดผิดเพื่อให้แปลกตา

* นู๋ (หนู)

* ชะมะ,ชิมิ (ใช่ไหม)

* ว้าววว (ว้าว)

* ป่าว (เปล่า)

* เทอ (เธอ)

* ชั้ล , ช้าน (ฉัน)

* ค้ะ , คร๊ , คร้ะ , ค่า (ค่ะ)

* คร้าบ , คับ , คัฟ , คร๊าฟ (ครับ)

๓.การลดรูปคำ เป็นรูปแบบของคำที่ลดรูปให้สั้นลง มีใช้ในภาษาพูด

* มหาลัย หรือ มหา'ลัย (มหาวิทยาลัย)

* วิดวะ (วิศวกรรม)

๔.คำที่สะกดผิดเพื่อให้ตรงกับเสียงอ่าน

* ใช่ไหม → ใช่มั้ย

๔.คำที่สะกดผิดเพื่อแสดงอารมณ์

* ไม่ → ม่าย

* ใช่ → ช่าย

* ใคร → คัย

* อะไร → อาราย

* เป็นอะไร → เปงราย

* ทำไม → ทามมาย

๕.คำที่สะกดผิดเพื่อลดความหยาบของคำ

หรืออาจใช้หลีกเลี่ยงการกรองคำหยาบของซอฟต์แวร์

* กู → กรู

* มึง → มรึง เมิง

* ไอ้สัตว์ → ไอ้สาด

* โคตร → โคโตะ

* พ่อมึงตาย → พ่องจาย

* เหี้ย → เห้

๖.คำเลียนเสียงเพื่อเพิ่มอรรธรถในการคุย

โดยส่วนใหญ่จะเพิ่ม ร., ส., (อาจมี ์ ติดมาด้วย) หรือ พิมพ์ตัวอักษรใดๆ ในคำนั้นเป็นจำนวนมากเพื่อเน้นคำนั้นให้เด่นอีกด้วย

* ว้าย → แอร๊ยย, อร๊ายยย

* กรี้ด → กี๊สส

* โฮก → โฮ๊ก

* โอ้ → โอ้วส์

* มัน → มันส์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความหมายของภาษาวิบัติ

ลักษณะของภาษาไทยวิบัติ

ผลกระทบของภาษาเฟซบุ๊คที่ทำให้ภาษาไทยวิบัติ