ลักษณะของภาษาไทยวิบัติ

อาจแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้ ดังนี้

๑. คำที่สะกดผิดได้ง่าย เป็นรูปแบบของคำที่มีการสะกดผิด ซึ่งเกิดจากคำที่มีการผันอักษรและเสียงไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์ เช่น

* สนุ้กเกอร์ → สนุ๊กเกอร์

* โน้ต → โน๊ต

๒. คำที่สะกดผิดเพื่อให้แปลกตา หรือ ง่ายต่อการพิมพ์ (ทำให้พิมพ์ได้เร็วขึ้น) เช่น

* หนู→ นู๋

* ผม → ป๋ม

* ใช่ไหม → ชิมิ

* เป็น → เปง

* ก็ → ก้อ

* ค่ะ,ครับ → คร่ะ,คับ

* เสร็จ → เสด

* จริง → จิง

* เปล่า → ปล่าว,ป่าว,เป่า

๓. การลดรูปคำ เป็นรูปแบบของคำที่ลดรูปให้สั้นลงมีใช้ในภาษาพูด เช่น

* มหาวิทยาลัย → มหา’ลัย ,มหาลัย

* โรงพยาบาล → โรงบาล

๔. คำที่สะกดผิดเพื่อให้ตรงกับเสียงอ่าน เช่น

* ใช่ไหม → ใช่มั้ย

๕. คำที่สะกดผิดเพื่อแสดงอารมณ์ เช่น

* ไม่ → ม่าย

* ไปไหน → ปายหนาย

* นะ → น้า

* ค่ะ,ครับ →คร่า,คร๊าบ

* จ้ะ → จร้า

นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ใช้ในการพูด และกลุ่มที่ใช้ในการเขียน

๑. กลุ่มที่ใช้เวลาพูด เป็นประเภทของภาษาวิบัติที่ใช้ในเวลาพูดกัน ซึ่งบางครั้งก็ปรากฏขึ้นในการเขียนด้วย แต่น้อยกว่าประเภทกลุ่มที่ใช้ในเวลาเขียน โดยมักพูดให้มีเสียงสั้นลง หรือยาวขึ้น หรือไม่ออกเสียงควบกล้ำเลย ประเภทนี้เรียกได้อีกอย่างว่ากลุ่มเพี้ยนเสียง เช่น ตัวเอง → ตะเอง

๒. กลุ่มที่ใช้ในเวลาเขียน รูปแบบของภาษาวิบัติชนิดนี้ โดยทั้งหมดจะเป็นคำพ้องเสียงที่หลายๆคำมักจะผิดหลักของภาษาอยู่เสมอ โดยส่วนใหญ่กลุ่มนี้จะใช้ในเวลาเขียนเท่านั้น โดยยังแบ่งได้เป็นอีกสามประเภทย่อย

๒.๑ กลุ่มพ้องเสียง รูปแบบของภาษาวิบัติชนิดนี้ จะเป็นคำพ้องเสียง โดยส่วนใหญ่กลุ่มนี้จะใช้ในเวลาเขียนเท่านั้น และคำที่นำมาใช้แทนกันนี้มักจะเป็นคำที่ไม่มีในพจนานุกรม

* เธอ → เทอ

* ใจ → จัย

* ไง → งัย

* กรรม→กำ

* ให้→หั้ย

* ได้→ด้าย

* ไป→ปัย

๒.๒ กลุ่มที่รีบร้อนในการพิมพ์ กลุ่มนี้จะคล้ายๆกับกลุ่มคำพ้องเสียง เพียงแต่ว่าบางครั้งการกด Shift อาจทำให้เสียเวลา เลยไม่กด แล้วเปลี่ยนคำที่ต้องการเป็นอีกคำที่ออกเสียงคล้ายๆกันแทน เช่น

* รู้ → รุ้

* เห็น → เหน

* เป็น → เปน ๒.๓ กลุ่มที่ใช้สื่อสารในเกมส์ (ใช้ตัวอักษรภาษาอื่นที่มีลักษณะคล้ายตัวอักษรไทย)

เทพ → Inw

นอน → uou

เกรียน → เกรีeu

แทงแรงแรง → IInJIISJIISJ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความหมายของภาษาวิบัติ

ผลกระทบของภาษาเฟซบุ๊คที่ทำให้ภาษาไทยวิบัติ